วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556


ซอฟต์แวร์  (Software)

1.ความหมายของซอฟแวร์

        ซอฟต์แวร์  คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร  เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ  เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้าง จัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิดเช่น  แผ่นบันทึก  แผ่นซีดี  แฟล็ชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์  เป็นต้น

หน้าที่ของซอฟต์แวร์
        ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์ เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท

2. ประเภทของซอฟแวร์
ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
        ซอฟต์แวร์ระบบ  (System Software)
        ซอฟต์แวร์ประยุกต์  (Application Software)
        ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ

ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software)
        ซอฟท์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง

ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software)
        System Software หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน

หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ
        1) ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับรู้การกดแป้นต่างๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้าและส่งออกอื่นๆ เช่น เมาส์ ลำโพงเป็นต้น  
        2) ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
        3) ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการในสาระบบ (directory) ในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
   
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และ ตัวแปลภาษา

ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
 1. ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
 2. ตัวแปลภาษา

1. ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)

        ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกซ์ และแมคอินทอช เป็นต้น

        ดอส (Disk Operating System : DOS) เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีต ปัจจุบันระบบปฏิบัติการดอสนั้นมีการใช้งานน้อยมาก

        วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่ายระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

        ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (multiusers) และสามารถทำงานได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆ เครื่องพร้อมกัน

        ลีนุกซ์ (linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกซ์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกูส์นิว (GNU) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี (Free Ware) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย  

        ระบบลีนุกซ์ สามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูล เช่น อินเทล (PC Intel) ดิจิตอล (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUN SPARC) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์บนพีซีได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนมากได้หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กันมากขึ้น

        แมคอินทอช (macintosh)  เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอช ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ
นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมาก เช่นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา


ชนิดของระบบปฏิบัติการ จำแนกตามการใช้งานสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ชนิดด้วยกัน คือ

1 ประเภทใช้งานเดียว (Single-tasking)
        ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส เป็นต้น

2 ประเภทใช้หลายงาน (Multi-tasking)
        ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows 98 ขึ้นไป และUNIX เป็นต้น

3 ประเภทใช้งานหลายคน (Multi-user)
        ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคน แต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลา เช่น ระบบปฏิบัติการWindows NT และ UNIX เป็นต้น


2. ตัวแปลภาษา

การพัฒนาซอฟแวร์ต้องอาศัยซอฟแวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็น
ภาษาเครื่อง
 ภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ และเพื่อให้
สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟแวร์ในภายหลังได้
 ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษาซึ่งภาษาระดับสูงได้แก่ ภาษาBasic, Pascal, C และภาษาโลโก เป็นต้น
 นอกจากนี้ ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมาก ได้แก่ Fortran, Cobol, และภาษาอาร์พีจี


ซอฟต์แวร์ประยุกต์  ( Application Software)

        ซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพ หรือการออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น

ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์

แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกได้เป็น 2  ประเภท คือ
1.  ซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ (Proprietary Software)
2.  ซอฟแวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป (Packaged Software)
มีทั้งโปรแกรมเฉพาะ (Customized Package) และ โปรแกรมมาตรฐาน (Standard Package)

แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน จำแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1. กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ(Business)
2. กลุ่มการใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย(Graphic and Multimedia)
3. กลุ่มการใช้งานบนเว็บ (Web and Communications)

กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ (Business)
        ซอฟแวร์กลุ่มนี้ ถูกนำมาใช้โดยมุ่งหวังให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นการจัดพิมพ์รายงานเอกสาร นำเสนองาน และการบันทึกนัดหมายต่างๆ ตัวอย่างเช่น:
        -  โปรแกรมประมวลคำ อาทิ Microsoft Word, Sun StarOffice  Writer
        -  โปรแกรม ตารางคำนวณ อาทิ Microsoft Excel, Sun  StarOffice Cals
        -  โปรแกรมนำเสนองาน อาทิ Microsoft PowerPoint, Sun StarOffice Impress

กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย
        ซอฟแวร์กลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยจัดการด้านงานกราฟิกและมัลติมีเดีย เพื่อให้งานง่ายขึ้น เช่น ใช้ตกแต่ง วาดรูป ปรับเสียง ตัดต่อภาพเคลื่อนไหว และการสร้างและออกแบบเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น
        -  โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsoft Visio Professional
        -  โปรแกรมตกแต่งภาพ อาทิ CorelDRAW, Adobe Photoshop
        -  โปรแกรมตัดต่อวิดิโอและเสียง อาทิ Adobe Premiere, Pinnacle Studio DV
        -  โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมีเดีย อาทิ Adobe Authorware, Toolbook Instructor, Adobe Director
        -  โปรแกรมสร้างเว็บ อาทิ Adobe Flash, Adobe Dreamweaver

กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร
        เมื่อเกิดการเติบโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซอฟแวร์กลุ่มนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเพิ่มมากขึ้น เช่น โปรแกรมการตรวจเช็คอีเมล การท่องเว็บไซต์ การจัดการดูแลเว็บ และการส่งข้อความติดต่อสื่อสาร การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย  ตัวอย่างโปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่:
        -  โปรแกรมจัดการอีเมล อาทิ Microsoft Outlook, Mozzila Thunderbird
        -  โปรแกรมท่องเว็บ อาทิ Microsoft Internet Explorer, Mozzila Firefox
        -  โปรแกรม ประชุมทางไกล (Video Conference) อาทิ Microsoft Netmeeting          
        -  โปรแกรมส่งข้อความด่วน (Instant Messaging) อาทิ MSN Messenger/ Windows Messenger, ICQ
 -  โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ต อาทิ PIRCH, MIRCH

ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
        การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษา คอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยค  ข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่าภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมายบางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการ- คำนวณทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล

ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
        เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และปฏิบัติตามจะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้เราเรียกสื่อกลางนี้ว่า ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วย

ภาษาเครื่อง (Machine Languages)
        เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
        การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันทีแต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นที่เป็นตัวอักษร

ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Languages)
        เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจากภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลีช่วยลดความยุ่งยากลงในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์  แต่อย่างไรก็ตามภาษาแอสเซมบลีก็ยังมีความใกล้เคียงภาษาเครื่องอยู่มาก และจำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่าแอสเซมเบลอร์(Assembler) เพื่อแปลชุดภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง

ภาษาระดับสูง (High-Level Languages)
        เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements ที่มีลักษณะเป็น
ประโยคภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้ที่เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์
ทำงานง่ายขึ้น ผู้คนทั่วไปสามารถเรียนรู้และเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากภาษาระดับสูง
ใกล้เคียงภาษามนุษย์ ตัวแปลภาษาระดับสูงเพื่อให้เป็นภาษาเครื่องนั้นมีอยู่ 2 ชนิด ด้วยกัน คือ
คอมไพเลอร์ (Compiler) และ อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter)

คอมไพเลอร์
คอมไพเลอร์ จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น

อินเทอร์พรีเตอร์
อินเทอร์พรีเตอร์ จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556


                                                                การสืบค้นข้อมูล

                                           ความหมายของเครื่องช่วยค้นหา(Search Engines)


      คือ เครื่องมือหรือเว็บไซต์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลและข่าวสารที่อยู่ของเว็บไซต์ (Address) ต่าง ๆ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากปัจจุบันการใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาไปค่อนข้างมาก และโดยการใช้งานที่สะดวกขึ้น ทำให้เว็บที่เป็นแหล่งรวมข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นอย่างมากมายมหาศาล

ประเภทของเครื่องช่วยค้นหา (Search Engines)
อินเด็กเซอร์ (Indexers)
      Search Engines แบบอินเด็กเซอร์จะมีโปรแกรมช่วยจัดการหาข้อมูลในการค้นหา หรือที่เรียกว่า Robot วิ่งไปมาในอินเทอร์เน็ตโดยอัตโนมัติ เพื่ออ่านข้อมูลจากเว็บเพจ (Web Pages) ต่าง ๆ ทั่วโลกมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลไว้ โดยจะใช้ตัวอินเด็กซ์ (Index)ค้นหาจากข้อความในเว็บเพจที่ได้สำรวจมาแล้ว
ตัวอย่างของเว็บไซด์ที่ให้บริการตามแบบอินเด็กเซอร์
 -      - http://www.altavista.com       - http://www.excite.com
          - http://www.hotbot.com            - http://www.magellan.com        
          - http://www.webcrawler.com

ไดเร็กทอรี (Directories)
      Search Engines แบบไดเร็กทอรีจะใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ซึ่งก็เปรียบ เสมือนกับเป็นแค็ตตาล็อกสินค้า (Catalog) เราสามารถเลือกจากหมวดหมู่ใหญ่ แล้วเลือกดูหมวดหมู่ย่อย ๆ ลงไปเรื่อย ๆ จนพบกับข้อมูลที่ต้องการ โดยจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่ง URL และรายละเอียดเกี่ยวกับ URL นั้น ๆ ซึ่งได้มาจากการวิเคราะห์เนื้อหาของแต่ละเว็บเพจว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร
ตัวอย่างของเว็บไซต์ที่ให้บริการด้วยไดเร็กทอรี
-http://www.yahoo.com               - http://www.lycos.com
- http://www.looksmart.com       - http://www.galaxy.com
- http://www.askjeeves.com      - http://www.siamguru.com

เมตะเสิร์ช (Metasearch)
    Search Engines แบบเมตะเสิร์ชจะใช้หลาย ๆ วิธีการมาช่วยในการค้นหาข้อมูล โดยจะรับคำสั่งค้นหาจากเรา แล้วส่งต่อไปยังเว็บไซต์ที่เป็น Search Engines หลาย ๆ แห่งพร้อม ๆ กัน ทำให้เราสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ Search Engines ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นก็จะสรุปแสดงผลลัพธ์ออกมา

ตัวอย่างของเว็บไซต์ที่ให้บริการด้วยเมตะเสิร์ช
- http://www.dogpile.com      
- http://www.profusion.com
- http://www.metacrawler.com
- http://www.highway61.com
- http://www.thaifind.com

เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลที่ได้รับความนิยม
 
   Yahoo  
       เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแบบไดเร็กทอรี่เป็นรายแรกในอินเทอร์เน็ต และเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานสูงสุดในปัจจุบัน เพราะมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ และผู้ใช้บริการมีโอกาสที่จะได้รับข้อมูลตรงกับความต้องการสูง การใช้งาน Yahoo แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การค้นหาในแบบเมนู และการค้นหาแบบวิธีระบุคำที่ต้องการค้นหา

Altavista
     เป็น Search Engines ของบริษัท Digital Equipment Corp. หรือ DEC ซึ่งมีฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก และมีโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาที่มีความสามารถสูงเป็นจุดเด่น โดยมีเว็บเพจอินเด็กซ์ (Indexed Web Pages) เป็นจำนวนมากกว่า 150 ล้านเว็บเพจที่เราสามารถใช้ในการค้นหาข้อมูล

Excite  
     เป็น Search Engines  ที่มีจำนวนไซต์ (site) ในคลังข้อมูลมากที่สุดตัวหนึ่งและสามารถค้นหาข้อมูลที่เป็นคำหรือความหมายของคำได้ โดยจะทำการค้นหาข้อมูลจาก World Wide Web และ Newsgroups เป็นหลัก จากการที่ excite มีข้อมูลในคลังข้อมูลเป็นจำนวนมาก ทำให้ผลลัพธ์ในการค้นหาข้อมูลที่ได้มีเป็นจำนวนมากตามไปด้วย

Hotbot  
      เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลที่ได้รับความนิยมอีกเว็บไซต์หนึ่ง มีจุดเด่นตรงที่สามารถกำหนดเงื่อนไขขั้นสูงได้ง่ายกว่าเครื่องมือค้นหาอื่น ๆ

Go.com  
      เว็บไซต์ที่มีการนำเสนอข่าวทันเหตุการณ์ต่างๆ จากแหล่งข่าวต่าง ๆ เป็นจำนวนมากตลอดจนข่าวในด้านบันเทิง (Entertainment News) นอกจากนี้ยังมีการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์ต่าง ๆ

Lycos  
     ฐานข้อมูลของ Lycos มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งมีคลังข้อมูลมากกว่า 1,500,000 ไซต์และมีเทคนิคในการค้นหาข้อมูลที่ดีมากด้วย โดยมีระบบการค้นหาข้อมูลที่รวดเร็วที่สามารถลงไปค้นหาข้อมูลจาก World Wide Web ได้ทุกรูปแบบจนถึงการค้นเป็นคำต่อคำ

Looksmart  
     เกิดขึ้นจากความคิดของชาวออสเตรเลีย  2 คนที่ไม่ประทับใจการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตสมัยนั้น โดยขอความช่วยเหลือทางการเงินจาก Reader’s Digest ทั้งสองจึงลงมือสร้างเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลที่คำนึงถึงความใช้ง่ายให้เหมาะกับทั้งมือใหม่และผู้ที่ชำนาญอินเทอร์เน็ต

WebCrawler  
     เป็นเว็บไซต์ที่มีคลังข้อมูลอยู่ในระดับปานกลาง การค้นหาข้อมูลของ WebCrawlerจะมีข้อจำกัดก็คือ ใช้ค้นหาข้อมูลที่เป็นวลีหรือข้อความทั้งข้อความไม่ได้ จะสามารถค้นหาข้อมูลได้เฉพาะที่เป็นคำ ๆ เท่านั้น

Dog pile  
      เป็นเว็บไซต์ประเภทเมตะเสิร์ชที่ใช้งานง่าย และค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยการพิมพ์คำที่เราต้องการค้นหาลงในช่องค้นหา และคลิกปุ่ม Fetch โดยผลลัพธ์ของการค้นหาจะถูกแสดงขึ้นมาบนจอภาพอย่างรวดเร็ว

Ask jeeves  
      เป็นเว็บไซต์น้องใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในอินเทอร์เน็ต โดยเราสามารถถามคำถามที่เราอยากรู้โดยพิมพ์คำถามลงไปในช่องกรอกข้อความ และคลิกปุ่ม Ask แล้วAsk jeeves จะไปทำการค้นหาคำตอบ (Answer) จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ให้เรา

ProFusion    
     เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแบบเมตะเสิร์ช โดยค้นหาข้อมูลจาก Search Engines ที่ได้รับความนิยมถึง 9 แห่งด้วยกัน โดยเราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ Search Engines ใดในการค้นหาข้อมูลทำให้สามารถค้นหาข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วและตรงกับความต้องการ
Siamguru.com
   siamguru.com ภายใต้สมญานาม “เสิร์ชฯ ไทยพันธุ์แท้” (Real Thai Search Engine)เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือค้นหาสำหรับคนไทยที่ดีที่สุดในประเทศไทย โดยให้บริการค้นหาข้อความแบบธรรมดาและแบบพิเศษ ค้นหาภาพ ค้นหาเพลง นักร้องต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีการค้นหาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการค้นหาภาษาไทย ตลอดจนมีระบบการเก็บข้อมูลใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา
การใช้งาน Search Engines
   การระบุคำที่ต้องการค้นหาหรือใช้คีย์เวิร์ด Yahoo.com การค้นหาข้อมูลด้วยวิธีนี้ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะต้องป้อนข้อความที่ต้องการค้นหาหรือเรียกว่าคีย์เวิร์ด (Keyword) ลงไปในช่องสำหรับกำหนดการค้นหา ในเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูล  

การค้นหาจากหมวดหมู่ (Directories)
     ในปัจจุบันเว็บไซต์ประเภท ต่าง ๆ มักจะมีการค้นหาแบบระบุคำหรือใช้คีย์เวิร์ด และการค้นหาจากหมวดหมู่ควบคู่กันไป ซึ่งการค้นหาจากหมวดหมู่จะมีการแบ่งหัวข้อต่าง ๆ ออกเป็นหัวข้อหลัก และในแต่ละหัวข้อหลักก็ประกอบไปด้วยหัวข้อย่อยลงไปเรื่อย ๆ ผู้ใช้สามารถคลิกที่ลิงก์ ไปยังหัวข้อย่อยต่าง ๆ จนพบกับข้อมูลที่ต้องการ
   เทคนิคในการค้นหาข้อมูล
   เทคนิคสำคัญที่ช่วยให้การค้นหาข้อมูลประสบความสำเร็จมีอะไรบ้างเทคนิคและวิธีการที่ช่วยให้การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตประสบความสำเร็จ ได้แก่        
         1. บีบประเด็นให้แคบลง เนื่องจากจำนวนข้อมูลที่มีมากมายในอินเทอร์เน็ตทำให้การค้นหาได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นจำนวนมาก        
          2. ใช้สิ่งที่เรียกว่าออปชัน (Option) เป็นตัวช่วยในการค้นหาข้อมูล ซึ่งเว็บไซต์ที่เป็น Search Engines ส่วนใหญ่จะมีให้อยู่แล้ว        
         3. อย่าค้นหาคำที่เราต้องการเท่านั้น ควรจะค้นหาคำที่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันด้วย
         4. หลีกเลี่ยงการค้นหาคำที่เป็นคำเดี่ยว ๆ หรือมีตัวเลขปนอยู่ เช่น NT หรือ 3Dแต่ถ้าต้องการค้นหาจริง ๆ จะต้องใส่เครื่องหมายคำพูดลงไปด้วย      (“  ”)
         5. พวกกลุ่มคำ หรือวลี ก็ต้องใส่เครื่องหมายคำพูดลงไปเช่นเดียวกัน        
         6. หลีกเลี่ยงคำจำพวก Natural Language (ภาษาพูด)
        7. ควรใช้สิ่งที่เรียกว่า Advanced Search หรือ Power Search เข้ามาช่วย เพราะจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการของเรามากกว่าการค้นหาแบบธรรมดา
        8. พยายามอย่าตั้งคำถามโดยมีคำนำหน้านาม (Articles) นำหน้าคำที่เราต้องการค้นหา เช่น การใช้ an หรือ the นำหน้า
         9. ตรวจสอบข้อความหรือคำที่ต้องการค้นหาเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้พิมพ์หรือสะกดคำผิด        
       10. ถ้าผลลัพธ์ที่ได้จากคำถามครั้งแรกไม่ตรงกับความต้องการของเรา ให้ทดลองเปลี่ยนคำถามเล็กน้อย        
         11. คำที่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน (Synonym) ยกตัวอย่างเช่น คำว่า“Mother Board” เราสามารถใช้คำว่า “Main board” แทนได้
          12. ถ้าคำถามของเรามีคำที่ต้องแยกจากัน เช่น คำว่า “Mother Board” เราจำเป็นต้องใช้เครื่องหมายอัญประกาศ หรือเครื่องหมายคำพูด (“         ”) เพราะจะทำให้Search Engines มองรูปของคำว่า “Mother Board” เป็นข้อความเดียวกัน
          13. ใช้ Help ให้เป็นประโยชน์ เพราะ Help เหล่านั้นจะมีเทคนิคหรือวิธีการของแต่ละ Search Engines ที่ช่วยแนะนำเทคนิคต่าง ๆ ที่สามารถใช้ได้หรือไม่ได้บนเว็บSearch Engines นั้น ๆ และยังมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งจะช่วยให้เราได้รับความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาด้วย


การใช้โปรแกรมเบราว์เซอร์ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
    การค้นกาข้อมูลโดย Internet Explore
        1.คลิกเม้าส์ที่ปุ่ม Search บนแถบเครื่องมือ
        2.จะปรากฏหน้าต่าง Search ขึ้นมาทางด้านซ้ายของหน้าต่าง คลิกที่ปุ่มCustomize
       3.จะปรากฏหน้าต่าง Customize Search Setting บนจอภาพ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามีSearch Engines ต่าง ๆ ให้เราสามารถเลือกใช้ในการค้นหาข้อมูล
        4.คลิกที่ปุ่ม OK
        5.เลือกสิ่งที่ต้องการให้โปรแกรม Internet Explorer ค้นหา
        6.กรอกข้อความ แล้วคลิกเม้าส์ที่ปุ่ม เพื่อเริ่มต้นการค้นหา
    7.จะปรากฏรายชื่อเว็บไซต์ที่มีข้อมูลที่เราต้องการ เราสามารถคลิกเม้าส์ที่ชื่อเว็บไซต์เหล่านั้นได้ทันที

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Search Engine


Search  Engine


ความหมายของ  Search  Engine

        Search  Engine  คือ  โปรแกรมที่ออกแบบมาเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์ต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นการค้นหาคำสั้นๆหรือที่เรียกว่า   keyword   หรือคำค้นต่าง ๆ นั่นเอง ซึ่งข้อมูลนั้นอาจอยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์  ไฟล์เอกสาร  ไฟล์รูปภาพ  สื่อมัลติมีเดีย  ไฟล์บีบอัด  และรูปแบบอื่น ๆ ที่สามารถบันทึกเป็นเอกสารออนไลน์ได้    โดยข้อมูลการเก็บรายชื่อเว็บไซต์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ ของเว็บไซต์และนำมาจัดเก็บไว้ใน   server   เพื่อให้สามารถค้นหาและแสดงผลได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น การทำงานของ  Search Engine   นั้นจะทำงานก็ต่อเมื่อมีคนป้อนคำหรือที่เรียกว่า keyword ลงไปใน   Search Engine  นั้นๆจากนั้น  Search Engine ก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมาการใช้ search engine ที่ดีนั้นคือการค้นหาข้อมูลที่ตรงและถูกต้องตามที่เราต้องการ


ประโยชน์ของ  Search  Engine 


ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้สะดวก  รวดเร็ว  และถูกต้อง

ค้นหาข้อมูลแบบเจาะลึกได้  เช่น  blog  seo  หนัง  รูป  หนังสือ  เป็นต้น
รองรับการค้นหาได้หลายภาษา

        Google.com  เป็น  Search  Engine  ตัวหนึ่ง ซึ่งหากเราจะเรียกแบบบ้านๆ  ตามประสาคนท่องเว็บแล้ว  Search  Engine  ก็คือเครื่องมือในการค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตนั่นเอง  นอกจาก  Google  แล้วยังมี  Search  Engine  อีกหลายๆ  ที่ชื่อดัง  ที่เราพอจะคุ้นหูคุ้นตาอยู่บ้าง  เช่น  Yahoo  MSN  เป็นต้น

        ซึ่งในปัจจุบัน  Search  Engine  ที่มีคนใช้เยอะที่สุดก็คือ  Google  นั่นเอง  ซึ่งเป็น  Search  Engine  ที่มีคนใช้บริการเยอะมาก  ทั้งๆ  ที่มีให้บริการมาไม่กี่ปีนี่เอง  เปิดมาไม่นานก็แซงหน้าขาใหญ่เดิมอย่าง  Yahoo  ไปชนิดที่เรียกว่ามองไม่เห็นฝุ่น  ก็เพราะว่าด้วยรูปแบบที่ใช้งานง่าย  และรวดเร็วนั่นเอง  แถมเป็นภาษาไทยอีกด้วย ยิ่งถูกใจคนไทยเป็นอย่างยิ่ง
        ซึ่งปรากฏการณ์  Google  ฟีเวอร์นี่เอง  ที่ทำให้คนส่วนหนึ่ง  ซึ่งส่วนใหญ่เป็น  Webmaster  หันมาทำ  SEO  เจาะที่  Search  Engine  ที่มีชื่อว่า  Google  กันอย่างถล่มทะลาย


ประเภทของ  Search  Engine


1.  แบบอาศัยการเก็บข้อมูลเป็นหลัก

        หลักการนี้เป็นการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า  Crawer - Based  Search  Engine  เป็นเครื่องมือที่ทำการบันทึกและเก็บข้อมูลเป็นหลัก  ซึ่งเป็นประเภท  Search  Engine  ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน  ซึ่งการทำงานประเภทนี้  จะใช้โปรแกรมตัวเล็กๆ  ที่เรียกว่า  Web  Crawer  หรือ Spider  หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  Search  Engine  Robots  หรือที่ีเรียกสั้นๆ ว่า  บอท  ในภาษาไทย  www  คือเครือข่ายใยแมงมุม  ตัวโปรแกรมตัวเล็กๆ  ตัวนี้ก็คือแมงมุมนั่นเอง  โดยเจ้าแมงมุมตัวนี้จะทำการไต่ไปยังเว็บไชต์ต่างๆ  ทั่วโลกอินเตอร์เน็ต  โดยอาศัยไต่ไปตาม  URL  ต่างๆ ขึ้นอยู่กับ  Search  Engine  แต่ละที่ว่าต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง  แล้วเก็บลงฐานข้อมูล  การใช้โปรแกรมกวาดข้อมูลแบบนี้  จะทำให้ข้อมูลมีความแม่นยำ  และสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้เร็วมาก  Search  Engine  ที่เป็นประเภทนี้ เช่น  Google  Yahoo  MSN

2.  แบบสารบัญเว็บไชต์

        Search  Engine  ที่เป็นแบบนี้มีอยู่หลายเว็บไชต์มาก  ที่ดังที่สุดในเมืองไทยก็คือ  Sanook.com  หรือ  Truehits.com  เป็นต้น  ที่เราจะสังเกตเห็นจาก  Search  Engine  ประเภทนี้ก็คือ  ลักษณะของการจัดเก็บข้อมูลที่แสดงให้เราเห็นทั้งหมด  ว่ามีเว็บอะไรอยู่บ้างในฐานข้อมูล  ซึ่งแตกต่างจากประเภทแรก  ที่หากคุณไม่ค้นหาโดยใช้คำขึ้นต้น  หรือ  Keyword  แล้ว  คุณจะไม่มีทางทราบเลยว่ามีเว็บไซต์อะไรอยู่บ้าง  และมีเว็บอยู่เท่าไหร่แบบสารบัญเว็บไซต์จะแสดงข้อมูลที่รวบรวมเว็บไซต์ที่มีทั้งหมดในฐานข้อมูล  และจะแบ่งเป็นหมวดหมู่  และอาจมีหมวดหมู่ย่อย  ซึ่งผู้ค้นหาข้อมูลสามารคคลิกเข้าไปดูได้
        หลักการทำงานแบบนี้  จะอาศัยเพิ่มข้อมูลจากเจ้าของเว็บไซต์ต่างๆ  ที่ต้องการประชาสัมพันธ์เว็บ  หรืออาจใช้เจ้าหน้าที่ดูแล  ส่วน Search  Engine  เป็นผู้หาข้อมูลมาเพิ่มในฐานข้อมูล  ซึ่งข้อมูลในส่วนของสารบัญเว็บไซต์จะเน้นในด้านความถูกต้องของฐานข้อมูล  ซึ่งข้อมูลเว็บไซต์ที่ถูกเพิ่มเข้ามาจะถูกตรวจสอบและแก้ไขจากผู้ดูแล

3.  แบบอ้างอิงในคำสั่ง

        Search  Engine  ประเภทนี้จะอาศัยข้อมูลใน  Meta  tag  ซึ่งเป็นส่วยของข้อมูลที่อยู่ในแท็ก  HEAD  ของภาษา  HTML  ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ให้ข้อมูลกับ  Search  Engine  Robots   Search  Engine  ประเภทนี้ไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง  แต่จะอาศัยข้อมูลจาก  Search  Engine  Index  Server  ของที่อื่นๆ  ซึ่งข้อมูลจะมาจาก  Server  หลายๆที่  ดังนั้นจึงมักได้ผลลัพธ์จากการค้นหาที่ไม่แม่ยำ


Search  Engine  ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน  ได้แก่


         http://www.sanook.com

               http://www.sanook.com/
         http://www.google.com
               https://www.google.co.th/
         http://www.yahoo.com
               http://www.yahoo.com/
         http://www.msn.com
               http://th.msn.com/?rd=1&ucc=TH&dcc=TH&opt=0&tc=1
         http://www.live.com
               https://login.live.com/login.srf?wa=wsignin1.0&rpsnv=11&ct=1355467277&rver=6.1.6206.0&wp=MBI_SSL_SHARED&wreply=https:%2F%2Fmail.live.com%2Fdefault.aspx%3Frru%3Dhome%26livecom%3D1&lc=1054&id=64855&mkt=th-th&cbcxt=mai
         http://www.baidu.com  (  Search  Engine  อันดับ 1 ของประเทศจีน )
               http://www.baidu.com/
         http://www.ask.com
               http://www.ask.com/
            





วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ คือ
1.เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ,กล้องดิจิทัล กล้องถ่ายวีดีทัศน์ เครื่องเอกซเรย์
2.เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก จานแสงหรือจานเลเซอร์ บัตรเอทีเอ็ม
3.เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
4.เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูลเช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ พลอตเตอร์ ฯลฯ
5.เทคโนโลยีที่ใช้ในการาจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6.เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสรข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนามต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง โทรเลข และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และระยะไกล
ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีการนำเอาเทคดนโลยีสารสนเทศมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในทางธัรกอจและการศึกษาดังตัวอย่างเช่น
-ระบบเอทีเอ็ม
-การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต
-การลงทะเบียนเรียน
พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสานสนเทศคืออะไร
การแสดงออกทางความคิดแบะความรู้สึกในการใข้รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท ที่นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ภาพ ข้อความ หรือ ตัวอักษร ตัวเลขและภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

การใช้อินเทอร์เน็ต
งานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาในสาถาบันอุดมศึกษาพบว่า
นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อความบันเทิง เนื่องจากเห็นว่ามีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ในขณะที่การใช้อินเตอร์เน็ตของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่ใช้เพื่อการเรียนรู้ การติดตามข่าวสารของสถานศึกษา
ใช้อินเทอร์เน็ต ทำอะไรได้บ้าง?
งานวิจัยชี้ว่า นักศึกษาใช้อินเทอร์เน็ตในการสนทนากับเพื่อนๆ และการค้นข้อมูลจากห้องสมุด
นอกจากนี้งานวิจัยยังชี้ว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประกอบการทำรายงาน
สถานที่ที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
งานวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้านเละมีการใช้อินเตอร์เน็ตที่ห้องสมุดของสถาบัน
นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการใช้หรือมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อย ในรูปแบบไหนบ้าง?
งานวิจัยชี้ว่า นักศึกษามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้น้อย ได้แก่ ฐานข้ามูลอิเล็กทรอนิกส์ การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-Learning วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (video on Demand) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกัยการเรียนการสอน
• การเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-Learning)
• บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction-CAI) หรือ (Computer Aided Instruction)
• วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand-VOD)
• หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books)
• ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library)
การเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-Learning)
เป็นการศึกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต (Internet) หรืออินทราเน็ต (Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ตามความสามารถแบะความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความรูปภาพเสียง วิดีโอและมับติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนป่างเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser)โดยผู้เรียนผู้สอนเพื่อนร่วมชั้นเรยนทุกคน สามารถติดต่อปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ
โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยสำหรับทุกคน โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ (Learning for all: anyone,anywhere and anytime)
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Intruction-CAI) คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ซึ่งนำเสนอสารสนเทศที่ได้ผ่านกระบวนการสร้างแบะพิจารณามาเป็นอย่างดี โดยมีเนื้อหาวิชาหรือสารสนเทศแบบฝึกหัดการทดสอบแบะการให้ข้อมูลป้อนกลับให้ผู้เรียนได้ตอบสนองต่อบทเรียนได้ตามระดับความสามารถของตนเอง เนื้อหาวิชาที่นำเสนอจะอยู่ในรูปมัลติมีเดีย ซึงประกอบด้วย อักษร รูปภาพ เสียงแบะหรือทั้งภาพและเสียงซึ่งมีพื้นฐานมาจากกานำหลักการเบื้องต้นทางจิตวิทยาการเรียนรู้มาใช้การออกแบบ
โดยอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้ (Learning Behvior)ทฤษฏีการเสริมแรง (Reinforcement Theory)ทฤษฏีการวางเงื่อนไขปฏิบัติ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองและการเสริมแรงเป็นสิ่งสำคัญ โดยมีจุดมุ่งหมายนำผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งอาศัยการสอนที่มีการวางโปรแกรมไว้ล่วงหน้าเป็นการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ไดด้วยตนเองและมีผลย้อนกลับทันทีและเรียนรู้ไปทีละขั้นตอนอย่างเหมาะสมตามความต้องการและความสามารถ
• วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand-VOD)
คือ ระบบการเรียกดูภาพยนตร์ตามสั่งที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูภาพยนตร์หรือข้อมูลภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้ตามต้องการ ตามสโลแกนที่ว่า “To view what one wants, when one wants” โดยสามารถใช้งานนี้ได้จากเครือข่ายสื่อสาร (Telecommunications Networds) ผู้ใช้งาน ซึ่งอยู่หน้าเครื่องลูกข่าย (Video Client) สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ทุกเมื่อตามต้องการและสามารถควบคุมข้อมูบวิดีโอนั้นๆ โดยสามารถย้อนกลับ (Rewind)หรือกรอไปข้างหน้า (Forward) หรือหยุดชั่วคราว (pause)ได้เปรียบเสมือนการดูวิดีโอที่บ้านนั่นเองทั่งนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายไม่จำเป็นต้องดูข้อมูลเดียวกันกล่าวคือสามารถดูภาพยนตร์เรื่องเดียวกันหรือต่างกันก็ได้

• หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books)
คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่านได้ทางอินเทอร์เน็ต โดยมีเครื่องมือที่จำเป้ในการอ่านหนังสือประเภทนี้คือ ฮาร์ดแวร์ ประเภทเรืองคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ พร้อมทั้งติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่านข้อความต่างๆ ตัวอย่างเช่น ออร์แกไนเซอร์แบบพกพา พีดีเอ เป็นต้น ส่วนการถึงข้อมูล e-books ซึ่งจะอยู่บนเว็บไซต์ที่ให้บริการทางด้านนี้มาอ่านก็จะวิธีการดาวน์โหลดผ่านทางอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะไฟล์ของ e-books หากนักเขียนหรือสำนักพิมพ์ต้องการสร้าง e-books จะสามารถเลือกได้สี่รูปแบบ คือ Hyper Text Markup Language (HTML) , Portable Document Format (PDF),Peanut Markup Language (PML)และ Extensive Markup Language (XML)
• ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library)
เป็นแหล่งความรู้ที่บันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
คุณลักษณะที่สำคัญของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์มีดังนี้ คือ
1. การจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์
2. ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์
3. บรรณารักษ์หรือบุคลากรของห้องสมุดสามารถแทรกการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุดได้ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ได้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์
4. ความสามารถในการจัดเก็บ รวบรวมและนำส่งสารสนเทศสู่ผู้ใช้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สารสนเทศ
ความหมายของสารสนเทศ
   สารสนเทศ หมายถึงข่าวสารที่สำคัญ เป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายใน
   องค์การต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์การนั้นๆ
  
   สารสนเทศ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Information หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการ
   ศึกษาค้นคว้า
   สารสนเทศเป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์
   ในการนำไปใช้ปฏิบัติ
 
   สารสนเทศ มีความหมายตามที่ได้มีการให้คำจำกัดความที่ใกล้เคียงกัน ดังนี้
   สารสนเทศ หมายถึงข้อมูลทั้งด้านปริมาณและด้านสุขภาพที่ประมวลจัดหมวดหมู่เปรียบเทียบ
   และวิเคราะห์และสามารถนำไปใช้ได้ หรือนำมาประกอบการพิจารณาได้สะดวกกว่าและง่ายกว่า

เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร
        เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอที (IT)
 เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อสังคมปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การประมวลผล
 และการแสดงผลสารสนเทศ

องค์ประกอบหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศ
       เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย องค์ประกอบ หลัก 2 ส่วนคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
       และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม(Telecommunication Technology)

1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
      คอมพิวเตอร์จัดเป็นเทคโนโลยีหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน เนื่องจาก
 คอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งด้านการบันทึก การจัดเก็บ การประมวลผล การแสดงผล
 และการสืบค้นหาข้อมูล
 สารสนเทศเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นเทคโนโลยีย่อยที่สำคัญได้ 2 ส่วน คือ
 เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีซอฟต์แวร์
      - เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ 
 อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเพื่อเชื่อมโยงจำแนกตามหน้าที่การทำงานออกเป็น 4 ส่วน คือ
         1. หน่วยรับข้อมูล
         2. หน่วยประมวลผลกลางหรืซีพียู : cpu
             (Central Processing Unit)
         3. หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit)
         4. หน่วยความจำสำรอง  ( Secondary Storage Unit)
      - เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ (Software)
หมายถึงโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่หน้าที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
     1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System  Software)
หรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแว์และซอฟต์แวร์ทำงานตามคำสั่ง
     2. ซอฟต์ประยุกต์ (Application Software)
คือชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ส่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
Information and Communication Technology for Teachers
รหัส PC54504           3(2-2-5)


คำอธิบายรายวิชา
          ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร เช่น ไมโครคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ก
ระบบซอฟต์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกการปฏิบัติ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและใช้เทศโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
Assignment 1
1. จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ตามความเข้าใจของนักเรียนเอง
     ตอบ    - เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิด
                 ประโยชน์
               - เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ การสื่อสารหรือ
                 เครื่อข่าย
                 โทรคมนาคมที่เชื่อมต่อกันและนำไปใช้ในการส่งและรับข้อมูลและมัลติมิเดียเกี่ยว
                 กับความ รู้หรือเหตูการณ์ที่เกิดขึ้น
              - เทคโนโลยีการสื่อสาร หมายถึง การนำสื่อหรือข้อมูลของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง
                ประกอบด้วยผู้ส่งสารหรือแหล่งกำเนิด ช่องทางการส่งข้อมูล
2. Cyber Bully หมายถึงอะไรหรือปรากฎการณ์ใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
    ตอบ    - การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์อาจรวมถึงสิ่งพิมพ์หรือการส่งผ่านข้อมูลที่เป็นเรื่อง
                ส่วนตัวของ
               คนหนึ่งไปยังสถานที่หนึ่งโดยไม่ได้รับอนุญาติจากเจ้าของ เช่น การเซฟภาพ
                เจ้านายใส่ชุด
               ว่ายน้ำในวันพักผ่อนจากเฟชบุ๊คของเจ้านายไปเพยแพร่ เป็นต้น